การใช้ MACD เพื่อหาการ Divergence ของกราฟ
เราจะพบว่าการเคลื่อนที่ของ MACD นั้นสัมพันธ์กันกับ กราฟ หรือราคา แต่จะมีบางช่วง หากสังเกตดีๆ MACD จะไม่สัมพันธ์กับ กราฟ อย่างชิ้นเชิง การแยกตัวออกจากกันของ MACD กับ ราคา Divergence มีอยู่ 2 รูปแบบ นั่นก็คือ
- Bullish Divergence : จะเกิดขึ้นเมื่อ MACD มีการปรับตัวสวนทางกับราคา โดยจะมีลักษณะ ปรับตัวลงก่อน และสูงขึ้น แต่กราฟ กลับ ลงต่อเนื่อง เป็นการเตือนเราว่ากราฟที่ดำเนินทิศทางใดอยู่กำลังจะเปลี่ยนทิศทาง
จุดสังเกต บริเวณที่ขีดเส้น
กราฟราคา ทำ Lower Low
MACD ทำ Lower High
2. Bearish Divergence : จะเกิดขึ้นเมื่อ MACD มีการปรับตัวสวนทางกับราคา โดยจะมีลักษณะปรับตัวสูงขึ้นก่อนและลดระดับลงมาก่อนจะปรับตัวสูงขึ้นอีกรอบแต่ต่ำกว่าก่อนหน้า ซึ่งตรงข้ามกับ ราคาจริงที่ทำ New High เป็นการเตือนว่าแรงซื้อกำลังจะหมดไปและราคากำลังจะเปลี่ยนทิศทาง
จุดสังเกต บริเวณที่ขีดเส้น
ราคาทำ New High ทำ Higher High
MACD ทำ Higher Low
ข้อเสียของ MACD
- บางครั้งให้สัญญานช้าไป ไม่เหมาะกับกราฟที่เป็น Sideway
- สัญญานหลอกเกิดขึ้นเยอะ อย่าใช้ใน Time Frame ต่ำ ๆ
- ควรดูแนวโน้มของกราฟ และ แนวรับหรือแนวต้านให้ดี ก่อนตัดสินใจว่าเป็น การ Divergence ไม่ใช่เอะอะก็คิดว่าเป็น divergence ไปเสียหมด บางครั้งอาจจะถูกแต่ก็แค่ระยะเวลาสั้นๆ เพราะสุดท้ายแล้วกราฟก็ไปตามเทรน
- การเกิด Bullish Divergence และ Bearish Divergence มักจะเกิดให้เห็นขึ้นบ่อยๆ จะบอกได้ถึงการกลับตัวเพื่อเปลี่ยนแนวโน้มใหม่อีกครั้ง แต่เพื่อความมั่นใจในความถูกต้อง ควรใช้เครื่องมืออื่นมาช่วยยืนยันด้วย ไม่งั้นจะโดนกราฟหลอกบ่อยๆ
ทริค พิเศษ
จากประสบการณ์เทรดการเกิด Divergence ของ MACD หรือเครืองมือ indicator อะไรก็ตาม 80% มักจะเกิดรูปแบบ Pattern
- Double Top
- Double Bottom
- V-Shape
“เมื่อรู้แบบนี้แล้วก็อย่าลืมนำไปประยุกต์ใช้ดูนะครับ”