Bollinger Bands เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางเทคนิคที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับมือใหม่ เป็นเครื่องมือที่ใช้ดูเทรนและการกลับตัวเป็นหลัก บ่งบอกถึงความต่อเนื่องและการเคลื่อนที่ของราคา นักเทคนิคคอลส่วนใหญ่ จะนิยมใช้ Bollinger bans วิเคราะห์ ในกราฟระยะสั้นๆ เช่น รายวัน หรือรายชั่วโมง ผู้ที่คิดค้นคือ นาย จอห์น โบลินเจอร์ (John Bollinger) จึงเป็นที่มาของ Bollinger Band ที่ตั้งตามชื่อของ นาย จอห์น นั่นเอง
Bollinger Band ประกอบด้วยเส้นค่าเฉลี่ย (BB Average) 3 เส้น นั่นก็คือ
BB กลาง 1 เส้น ค่าดั้งเดิมคือ Period 20 วัน
บน 1 เส้น (Upper Band )หรือ BB Top และ
ล่าง 1 เส้น (Lower Band)หรือ BB Bottom
การนำ Bollinger Band เข้าสู่กราฟในโปรแกรม Metatader 4
เข้าสู่โปรแกรม Metatrader 4 โดยเลือกดังนี้
1. ให้ไปที่ Insert –> Indicators –> Trend –> Bollinger Bands
- ตั้งค่าปกติ ค่าดั้งเดิมก็ใช้งานได้เลย
จะได้ตามภาพ
หลักการวิเคราะห์กราฟโดยใช้ Bollinger Band
- ราคาจะซื้อขายกันอยู่ในกรอบ Bollinger Bands โดย
ทะลุเส้นบน
หมายถึง ภาวะ Over Bought
ทะลุเส้นล่าง
หมายถึง ภาวะ Over Sold
- การซื้อขายอยู่ระหว่างเส้นกลาง (BB Average) กับเส้น (BB TOP) จะแสดงลักษณะ ตลาดในแนวโน้มขาขึ้น
การซื้อขายอยู่ระหว่างเส้นกลาง (BB Average) กับเส้น (BB Bottom) จะแสดงลักษณะ ตลาดแนวโน้มขาลง
หาก พฤติกรรมราคา ไม่ทะลุ ด้านใดด้านหนึ่ง แสดงว่าราคายังดำเนินไปในสภาวะเทรนเดิม
- ตัวอย่างการพิจารณาง่ายๆ : ในขณะที่กราฟกำลังเป็นเทรนขาขึ้น เส้น BB Average จะเป็นแนวรับของราคา และ BB Top จะเป็นเป้าหมายของราคา ตรงข้ามกัน ในขณะที่กราฟกำลังเป็นเทรนขาลง เส้น BB Average จะเป็นแนวต้านของราคา และ มี BB Bottom เป้าหมายของราคา
- การเคลื่อนที่ของราคาในกรอบแคบๆเวลานาน ก็จะทำให้ Bollinger Band นั้นแคบ ลงไปตามลำดับ หากมีการแกว่งตัวของราคา ตัว Bollinger Band ก็จะขยายตัวตามไปด้วย
- เมื่อ Bollinger Band แคบเป็นเวลานานๆ จนช่วงเวลาหนึ่ง การซื้อขายเพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็ว Bollinger Band ก็จะกระชากยาวลักษณะเหมือน “ปากของ กรวย”เมื่อราคากลับเข้ามาสู่สภาวะปกติ BB ก็จะแคบลงเป็นปกติ
ประโยชน์และการใช้งาน Bollinger bands
- ใช้วัดความผันผวนของตลาด
- ใช้เป็นแนวรับและแนวต้าน
- ใช้หาแนวโน้มของราคา
- ใช้ดู Overbought, Oversold (ซื้อหรือขายมากเกินไป)
- ใช้เทรดด้วยกลยุทธ์แบบ Breakouts
- ใช้วัดความผันผวนของตลาด Bollinger Bands สามารถบอกเราให้ทราบว่า สถานะของตลาดเป็นยังไง กำลังคึกคัก หรืออยู่ในช่วงเงียบซบเซา โดยให้ดูจากเส้น คือถ้าเส้นมีลักษณะ บีบ ชิดเข้าหากัน แบบแคบๆ นั้นหมายถึงตลาดกำลังเงียบเชียบหรืออยู่ในช่วงซบเซาอยู่ แต่ถ้าเส้นแยกออกจากกัน แล้วอยู่ห่างๆ กันเมื่อไหร่ นั้นหมายถึง ตลาดมีความคึกคัก บ่งบอกว่ามีนักลงทุน กำลังมีการซื้อ-ขาย กันเป็นจำนวนมาก
2. ใช้เป็นแนวรับและแนวต้าน Bollinger Bands ที่ประกอบกันด้วย สามเส้นนั้น จะเคลื่อนที่ไปตามแนวโน้มของราคา โดยมีหน้าที่แตกต่างกันดังนี้
- เส้นบน หรือ Upper Band = ทำหน้าที่เป็นแนวต้าน
- เส้นกลาง หรือ Middle Band = ทำหน้าที่เป็นทั้งแนวรับและแนวต้าน
- และเส้นล่าง หรือ Lower Band = ทำหน้าที่เป็นแนวรับ
3. ใช้หาแนวโน้มของราคาเราสามารถนำ Bollinger Bands มาใช้เพื่อหาแนวโน้มของราคา ดังนี้
- แนวโน้มขาขึ้น= ลักษณะของราคาจะอยู่บริเวณเส้นขอบบน และไม่ค่อยจะทะลุเส้นขอบกลางลงไปได้
- แนวโน้มขาลง= ลักษณะของราคาจะอยู่บริเวณเส้นขอบล่าง และไม่ค่อยจะทะลุเส้นขอบกลางขึ้นไป
- แนวโน้มของราคาที่อยู่ในรูปแบบSideway = เมื่อราคาเพิ่มขึ้นจนถึงเส้นขอบบน แล้วเกิดการกลับตัวเปลี่ยนจากขึ้นเป็นลง นั้นหมายถึงแนวโน้มราคากำลังจะลง (เป็นสัญญาณขาย) ในทางกลับกัน ราคาที่ลดลงจนชนเส้นกรอบด้านล่าง จากนั้นเกิดการกลับตัว เปลี่ยนจากลงเป็นขึ้น นั้นหมายถึง แนวโน้มราคากำลังจะขึ้น (เป็นสัญญาณซื้อ)
ตัวอย่างการใช้ Bollinger Band ในเทรน ขาขึ้น ขาลง ไซด์เวย์
4. ใช้ดู Overbought, Oversold (ซื้อหรือขายมากเกินไป) กรณีใช้ดูการซื้อหรือขายที่มากเกินไปนั้น ก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก เพียงแค่ดูจากเส้น ก็เข้าใจได้โดยง่าย วิธีการดูหรือแปลความหมายคือ เส้นขอบบน (BB Top) หมายถึงการซื้อที่มากเกินไปเส้นขอบล่าง (BB Bottom หมายถึงการขายที่มากเกินไป เพราะฉะนั้นเส้นขอบกลาง (BB Average) ก็คือการซื้อหรือขายที่อยู่ในระดับปานกลางนั่นเอง
5. ใช้เทรดด้วยกลยุทธ์แบบ Breakouts
ตัวอย่าง การ Break out
จากรูปราคาได้เคลื่อนที่ไปเบรก เส้น BB Top แต่ก็กลับมาทดสอบแนวรับและแนวรับตรงนั้นตรงกับเส้น BB Bottom เราสามารถเข้าซื้อตรงนั้นได้