Relative Strength Index(RSI)

by admin
0 comment

RSI เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้วัดการแกว่งตัวของราคาหุ้น สำหรับการลงทุนในช่วงหนึ่ง เพื่อดูภาวะการซื้อมากเกินไป (OVERBOUGHT) หรือขายมากเกินไป (OVERSOLD) ซึ่ง RSI นี้จะวิ่งอยู่ระหว่าง 0 – 100 โดยใช้ระดับเหนือ 70% บอกภาวะ OVERBOUGHT หรือซื้อมากเกินไป มีโอกาศที่ราคาจะปรับตัวลงมา และระดับต่ำกว่า 30% บอกภาวะ OVERSOLD หรือขายมากเกินไป มีโอกาสที่ราคาจะปรับตัวสูงขึ้นไป และยังใช้เป็นสัญญาณเตือนว่า แนวโน้มของราคาหุ้นที่กำลังมีทิศทางขึ้นหรือลงนั้น กำลังใกล้จะอ่อนตัวลงหรือยัง โดยมีสัญญาณเตือนที่แสดงออกมาในรูปแบบของการขัดแย้งกัน (DIVERGENCE) ระหว่างราคาหุ้นกับ RSI

RSI เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดการแกว่งตัวของราคา  เพื่อดูภาวะการซื้อมากเกินไป (OVERBOUGHT) หรือขายมากเกินไป (OVERSOLD) โดยใช้ระดับเหนือ 70% บอกภาวะ OVERBOUGHT และระดับต่ำกว่า 30% บอกภาวะ OVERSOLD และยังใช้เป็นสัญญาณเตือนว่า แนวโน้มของราคาหุ้นที่กำลังมีทิศทางขึ้นหรือลงนั้น กำลังใกล้จะอ่อนตัวลง RSI ประกอบไปด้วย

1.เส้น Moving Average (ค่าดั้งเดิมคือ 14 วัน)

  1. เส้นบอกบริเวณ Overbought Oversold (เส้น 30 และเส้น 70)

การติดตั้ง RSI ลงในโปรแกรม Metatrader 4

เลือก Insert –> Indicators –> Oscillators –>Relative Strength Index

ค่าดั้งเดิม จะเท่ากับ Period 14 วัน

Overbought และ Oversold คืออะไร? แล้วใช้ดูกับ RSI อย่างไร?

OVERBOUGHT คือสัญญาณจาก RSI ที่บ่งบอกว่าตลาดขาขึ้นเริ่มมีคน”ซื้อ”มากเกินไปและอิ่มตัวแล้วซึ่งราคามีความเป็นไปได้ที่จะปรับตัวลง

OVERSOLD คือสัญญาณจาก RSI ที่บ่งบอกว่าตลาดขาขึ้นเริ่มมีคน”ขาย”มากเกินไปและอิ่มตัวแล้วซึ่งราคามีความเป็นไปได้ที่จะปรับตัวขึ้น

ผู้เทรดจะต้องมองเทรนหรือแนวโน้มของราคาให้ออกก่อนว่า ณ ขณะนั้นกราฟกำลังวิ่งเป็นเทรนอะไร เมื่อผู้เทรดสามารถระบุเทรนได้ชัดเจนแล้วก็ให้มองแต่ Over ของกราฟ  เทรนนั้น ยกตัวอย่างเช่น หากผู้เทรดเห็นว่ากราฟเป็นเทรนขาขึ้น ผู้เทรดก็ต้องมองแต่ตอนที่เส้น Moving Average ของ RSI เวลากลับมาที่แนว Oversold อย่างเดียวแล้วรอเทียบสวิงของ Oversold กับ สวิง Low ของราคาอย่างเดียวครับ

ตัวอย่างของการดู Overbought และ Oversold

Overbought

Oversold

จากภาพแรก

กราฟได้มีความสัมพันธ์กันไปในทิศทางเทรนขาขึ้น โดยจุดสังเกตคือ บริเวณจุดสูงสุดหรือ High ที่ราคาทำไว้นั้น RSI ก็ได้ทำจุดสูงสุดบริเวณเส้น 70 ซึ่งเป็นสัญญาน Overbought  หลังจากนั้นราคาก็มีการเคลื่อนที่โดยลดระดับลงเรื่อยๆ จนมีแรงซื้อขายขึ้นอีกครั้ง โดยครั้งนี้ ราคาทำจุดสูงสุดใหม่ หรือ  New High  แต่ RSI กลับไม่เลย เส้น 70 จากภาพนี้ คือการ Divergence ของราคา โดยใช้ RSI วิเคราะห์การ Overbought ของราคา

จากภาพสอง

เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากภาพแรก หลังจากราคาได้เกิดการ Overbought และถูกเทขายอย่างรุนแรง เรียกว่าเปลี่ยนเป็นเทรนขาลงเลยก็ว่าได้ ราคาได้วิ่งจนถึงจุดเริ่มต้นของภาพแรก นั่นก็คือ แนวรับ ณ ช่วงเวลานั้น และก็สัญญานกลับตัว บริเวณแนวรับนั้น  สิ่งที่สังเกต ณ บริเวณนี้ คือ RSI เกิดการ Oversold ณ บริเวณ 30  ซึ่งมีความหมายว่า มีแรงขายมากเกินไป ราคาควรขึ้นไปพักตัว และมีแท่งเทียนสัญญานกลับตัวคือ Morning Star เกิดขึ้น บริเวณนี้ เป็นอีก 1 เหตุผลที่ กราฟควรกลับขึ้นไปทดสอบแนวต้าน หรือ พักตัวนั่นเอง

จากประสบการณ์เทรด 7-8 ปีของผมแล้ว นอกจากเทคนิคการดู RSI แบบธรรมดาคือ Overbought และ Oversold หรือแม้กระทั่งการนำ RSI ไปวิเคราะห์ประกอบการเกิด Divergence ของราคา บางครั้งก็ต้องมีเทคนิคอื่นควบคู่ ถ้าจะบอกการใช้ จินตนาการก็ไม่ดูเวอร์นะครับ เพราะ มันก็เกิดขึ้นจริงๆ แต่ต้องหัดสังเกตพฤติกรรมราคากันเองเอง  ต้องฝึกฝนกันเองครับ สิ่งที่พูดถึงก็อย่างเช่น

  • การลากเทรนไลน์ ใน RSI
  • การวาด Pattern ใน RSI
  • การเพิ่ม Moving Average ลงไปใน RSI

เป็นต้นนะครับ ผมจะยกตัวอย่างเพียงเล็กน้อย ถ้าผู้อ่านท่านใดสนใจวิธีของผมก็ลองเอาไป ประยุกต์ใช้ดูนะครับ

ตัวอย่างกราฟจริงและ RSI เกิดการเบรกของราคา

จากรูปนี้สัญญาน RSI จะไวกว่ากราฟจริงนะครับ เมื่อกราฟเบรกตามกันเป้าหมายของราคาที่เบรกบริเวณ Overbought ก็จะลงสู่ โซน Oversold สังเกตว่าจะตรงกับบริเวณที่กราฟไซด์เวย์พอดี บริเวณนั้นก็น่าจะเป็นจุดรับราคาได้ดีเช่นกันครับ

ตัวอย่างกราฟจริงและ RSI เกิด Pattern โดย กราฟจริงเกิด Triple Top  RSI เกิด Head and Shoulder

จากภาพนี้เราจะสังเกตได้หลายอย่างเลยทีเดียว

  1. กราฟเกิดการ Overbought และ Oversold บริเวณแนวรับและแนวต้าน
  2. กราฟเกิดการ Divergence
  3. สัญญาน RSI เกิดการ Retest Pattern บริเวณ Neckline

ตัวอย่างกราฟจริง  การใส่ Moving Average เข้าไปใน กราฟและ RSI

จากภาพนี้สิ่งที่สังเกตได้คือ พฤติกรรมของกราฟและ RSI ค่อนข้างสอดคล้องกันนะครับ เมื่อมีกันของตัดของเส้น Moving Average ราคาและ RSI ก็ไปในทิศทางเดียวกัน แนะนำวิธีนี้ให้ใช้ Time Frame สูงๆนะครับ

“ส่วนการใส่ Moving Average ลงไปใน RSI ทำได้เหมือนการเพิ่มเส้น Moving Average ลงใน MACD นะครับ”

You may also like

Leave a Comment