Divergence
Divergence อ่านว่า ได-เวอ-เจ้น เรื่องนี้เป็นเรื่องที่คุ้นๆกันไหมครับใช่แล้วครับ เป็นเรื่องที่ใช้ควบคู่กับ Indicators ในบทก่อน แต่บทนี้ผมจะสรุปการใช้ Divergence ให้เข้มข้นขึ้น ถ้าเป็นส้มตำ ก็ให้ จี๊ดเผ็ดแสบสะท้านทรวงกันเลยทีเดียว
สำหรับ Divergence นั้นส่วนตัวถือว่าเป็นเทคนิคการเข้าทำกำไรที่ได้เปรียบที่สุดในบรรดาการเข้าเทรด ส่วนใหญ่หากกราฟเกิดการ Divergence เรามักเทรดแบบ สวนเทรนโดยไม่รู้ตัว ซึ่งบางทีมันก็ได้ครับ แต่โดยหลักการเราก็ควรเทรดตามเทรนใช่ไหมหละครับ
แต่การเกิด Divergence หากเกิดบริเวณแนวรับหรือแนวต้านใหญ่ๆ การเทรดสวนไปไม่ถือว่าผิดนะครับ อีกอย่างการเทรดมันไม่มีผิดถูก เพราะมันเป็นเงินของเรา ความคิดของเรา เพราะว่า เวลาเราเทรดได้ เราก็ได้เงินของคนที่คิดตรงข้ามเรา
เอาหละครับเราเริ่มมารู้จักกับ การเทรด Divergence ในรูปแบบต่างๆ และ การใช้ Divergence ที่ผมถนัดและใช้ในทุกๆวันที่เทรด กันครับและผมเชื่อว่า ส่วนน้อยที่จะใช้วิธีที่ผมเทรดนี้ หรือ อาจมองข้ามไป หรือ อาจไม่เคยทราบ แต่โดยส่วนตัวคิดว่าแม่นยำมากครับ
ประเภทของ Divergence
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้ แก่
- Regular Divergence
- Hidden Divergence
พิเศษ Exaggerate Divergence
วิธีการสังเกต ง่ายๆ สำหรับ Divergence
ประเภทของ Divergence นั้น หลักๆที่พบได้ในตลาด จะมี อยู่ 2 ประเภท นั่นก็คือ Regular Divergence และ Hidden Divergence ข้อสังเกตง่ายๆที่เราจะเรียนรู้จากหัวข้อนี้ได้ไวๆ มีดังนี้ครับ
Regualar Divergence คือ รูปแบบราคาที่กลับตัว (Reversal Trend หรือ Counter Trend) เป็นพฤติกรรมราคาที่จะเกิดขึ้นสวนเทรน ตัวอย่างเช่น กราฟกำลังเป็นขาขึ้น Divergence ก็จะเกิดขึ้นบริเวณแนวต้าน ตรงข้ามกันครับ หากกราฟเป็นขาลง กราฟก็จะเกิดขึ้นตรงแนวรับ
Hidden Divergence คือ รูปแบบราคาที่กลับตัว (Reversal Continues Trends หรือ Following Trend) รูปแบบพฤติกรรมราคาที่เกิดขึ้น จะเป็นรูปแบบการกลับตัวเพื่อไปต่อ ตามเทรน ตัวอย่างเช่น กราฟกำลังเป็นขาขึ้น และมีการพักตัว จนมาถึงแนวรับ จะเกิดสัญญาณ Divergence บริเวณแนวรับ เพื่อไปต่อ ตรงกันข้าม หากกราฟเป็นขาลง และกำลังพักตัวก็จะไปทดสอบแนวต้าน และก็ ลงต่อ
เห็นไหมครับข้อสังเกต ไม่ยากเลยสำหรับการมองประเภท Divergence ทีนี้เรามาดู รูปแบบการฟอร์มตัว และ พฤติกรรมราคาโดยละเอียดกันครับ
Regular Divergence
รูปแบบนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ราคาจะต้องมีการปรับตัวไปในทิศทางเดียวกับ Indicators ที่ขัดแย้งเสมอ อย่างน้อยต้องช่วงระยะเวลาหนึ่ง ( Reversal of Price ) เป็นรูปแบบที่พบบ่อยมากและคุ้นเคยกันดี เทรดเดอร์ที่เทรดมาซักระยะหนึ่งแล้วมักจะสังเกตเห็นได้ง่ายเมื่อมันเกิดขึ้น
ตัวอย่าง
- Regular Bullish Divergence: ราคาทำ Lower Low แต่ Indicator ทำ Higher Low ซึ่งราคามักจะปรับตัวขึ้นต่อหลังจากนั้น
- Regular Bearish Divergence: ราคาทำ Higher High แต่ Indicator ทำ Lower High ซึ่งราคามักจะปรับตัวลงหลังจากนั้น
ตัวอย่าง Regular Divergence จากเทรนขาลง –> ขึ้น
ตัวอย่าง Regular Divergence จากเทรนขาขึ้น –> ลง
Hidden Divergence
เป็นรูปแบบที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยและมองข้ามมันไป การเกิด Hidden Divergence จะเป็นลักษณะการเคลื่อนไหวไปต่อในทิศทางเดิมของแนวโน้มนั้น
ตัวอย่าง
- Hidden Bullish Divergence: ราคาทำ Higher Low แต่ Indicator ทำ Lower Low ซึ่งราคามักจะปรับตัวขึ้นต่อหลังจากนั้น
- Hidden Bearish Divergence: ราคาทำ Lower High แต่ Indicator ทำ Higher High ซึ่งราคามักจะปรับตัวลงหลังจากนั้น
ตัวอย่างกราฟ Hidden Divergence กราฟขาขึ้นและไปต่อในทิศทางเดิม
ตัวอย่างกราฟ Hidden Divergence กราฟขาลงและไปต่อในทิศทางเดิม
Exaggerate Divergence
เป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นไม่ค่อยบ่อยนัก แต่เมื่อเกิดขึ้นลักษณะพฤติกรรมราคามักจะคล้ายกับ Regular Divergence การเคลื่อนที่เมื่อเกิดเหตุการณ์ Divergence มักจะเปลี่ยนทิศทางจากเดิม
ตัวอย่าง
- Exaggerate Bullish Divergence: ราคาทำ Low เท่ากัน แต่ Indicator ทำ Higher Low ซึ่งราคามักจะปรับตัวขึ้นต่อหลังจากนั้น
- Exaggerate Bearish Divergence: ราคาทำ High แต่ Indicator ทำ Lower High ซึ่งราคามักจะปรับตัวลงหลังจากนั้น
ตัวอย่างกราฟ Exaggerate Divergence กราฟขาลงและเปลี่ยนทิศทางไปในทิศทางขาขึ้น
ตัวอย่างกราฟ Exaggerate Divergence กราฟขาขึ้นและเปลี่ยนทิศทางไปในทิศทางขาลง
4 ข้อ ที่ควรย้ำเตือนตัวเอง ในการเทรด Divergence
- เริ่มจากมอง Trend ให้ออกก่อน Divergence เป็นตัวบอกความขัดแย้งของราคากับโมเมนตัม เป็นตัวบอกความอ่อนแอของ Trend และบอกว่า ราคามีโอกาสที่จะกลับตัวในไม่ช้า (ย้ำนะครับว่า…มีโอกาส แต่ไม่ได้หมายถึงว่าจะเกิดแน่ ๆ)
Divergence ที่เกิดใน Trend ขาลง
Divergence ที่เกิดใน Trend ขาขึ้น
2. หา แนวรับ-แนวต้าน ให้เจอ ทำไมต้องหาให้เจอ เพราะว่า 90% การเกิด Divergence มักเกิดในตำแหน่ง แนวรับแนวต้านนี้แหละครับ เพราะส่วนมาก สัญญานการเกิดมักเกิดจากการทดสอบราคาที่ไม่สามารถทะลุแนวรับหรือแนวต้านไปได้
Divergence เกิดบริเวณแนวต้าน
Divergence เกิดบริเวณแนวรับ
3. ควรพิจารณา Divergence ใน Time Frame ใหญ่ๆ ข้อนี้เป็นสิ่งที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่มักไม่ให้ความสำคัญ หรือ อาจจะลืมไปเทรดเดอร์มือใหม่จะชอบเทรดใน Time Frame เล็ก ๆ อย่าง 1 นาที 5 นาที 15 นาที หรือ 30 นาทีTime Frame ยิ่งเล็ก ความผันผวนกราฟยิ่งสูงเวลาเกิด Divergence ใน Time Frame เล็ก ๆ สัญญาณจึงไม่ค่อยแม่นยำ
4. ควรพิจารณา จากเครื่องมืออื่นเพิ่มเติม โดยปกติแล้วเราเทรด Divergence นั้นมักมองแค่แนวรับหรือแนวต้าน แล้วก็ เพิ่มพวก Indicator ขึ้นมาสัก 1 ตัวเพื่อหาสัญญาน ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเข้าออเดอร์ แต่ตัวอย่างนี้ ผมจะใช้ Fibonacci เข้ามาช่วย เรียกว่าแม่นยำ 80% เลยทีเดียว อยากให้ผู้อ่านนำวิธีนี้ไปใช้กันเยอะๆนะครับ
จากรูปภาพ กราฟเป็นเทรนขาลงๆมา แล้วเกิด Divergence บริเวณไกล้แนวรับอดีต กราฟได้ทำ New low แต่ Indicator ทำ Lower High ซึ่งหากพิจารณาการ Divergence นี้ ก็ ตรงกับ Regular Divergence และมีจุดพิจารณาเพิ่มคือ 1. แนวรับ 2. RSI Oversold 3. รูปแบบ Inverse Head and Shoulder 4. แนวราคา 116% จาก Fibonacci
ตัวอย่างกราฟ วิเคราะห์ Divergence โดยใช้ Fibonacci
จากภาพนี้คือภาพรวม ของเทรนขาขึ้น ครับ ผมจะวิเคราะห์เป็นจุดๆ โดยแยกภาพออกเป็นส่วนๆ นะครับ
ส่วนแรก
พิจารณากราฟ เกิด Divergence ดังนี้
- กราฟฟอร์มตัวเป็น Head and Shoulder
- กราฟทำ Higher High แต่ RSI บอกว่าเป็น Lower High
- เกิดแท่งเทียนเล็กๆ จำพวก Doji Shooting Star
- ราคาเกิด ณ ตำแหน่ง Fibonacci 116%
ส่วนที่สอง เหตุการณ์ต่อจากภาพแรก
พิจารณากราฟ เกิด Divergence ดังนี้
- กราฟทำ Lower Low แต่ RSI บอกว่าเป็น Lower High
- RSI บอกว่ากราฟ Over Sold
- เกิดขึ้นบริเวณแนวต้านในอดีต แนวรับในปัจจุบัน
- มีการเทขายอย่างรุนแรงแต่ก็มีแรงซื้อขึ้นมาทันที สังเกต จะมีแท่ง Hammer ขึ้นมา หากมองเป็นทามเฟรมใหญ่ๆ ก็น่าจะเป็นพวกแท่งเทียน Piercing candlestick
- ราคาเกิด ณ ตำแหน่ง Fibonacci 116%
บทสรุปเรื่อง Divergence
“ สำหรับการแนะนำเรื่อง Divergence นั้น ถ้าในรูปแบบธรรมดา ก็คิดว่า ผู้อ่านควร เปิดกราฟ และ ทำตามหนังสือ ไปด้วย เพราะว่า เพียงท่องจำไม่อาจจำได้ แต่ถ้าหากใช้บ่อยๆ และเกิดจากการฝึกฝน มันจะจำได้เองโดยอัตโนมัติ หากจะต้องแนะนำเพิ่มเติมก็คือ การแนะนำให้ลองใช้ Fibonacci Retracement เข้ามาช่วย โดยส่วนตัวผมคิดว่ามันเป็น จุดหรือตำแหน่ง ที่มีนัยยะ อีกทั้งผมยังใช้วิธีนี้ เทรดอยู่บ่อยครั้ง เพราะว่า ถ้าหลุดโซน 116% – 127.2% ไปนั่นหมายถึงกราฟจะต้องไปต่อตามเทรนที่เป็นมา แต่หากกราฟกลับตัวบริเวณนั้น เราจะได้กำไรมากกว่า Stop Loss 2-3 เท่า หรือ มากกว่านั้น โดยเป้าหมายเวลากราฟ Divergence ตาม Fibonacci นั้นมักจะวิ่งกลับไปที่บริเวณ 23.6% ที่เคยร่วงลงมาหรือขึ้นมา อีกทั้งถ้าฟลุ๊ค ก็อาจไปถามเทรนต่อเนื่อง สามารถใช้เป็นจุด Sniper ยิงแม่นๆ กินนานๆ ได้เลยทีเดียว แต่การเทรด Divergence และที่สำคัญ ถึงแม้ระบบเราจะแม่นยำขนาดไหน แต่เราก็ไม่ควรลืมการใช้ Money Management นะครับ”