การลาก Fibonacci Retracement

by admin
0 comment

 

ในกรณีที่ราคาเป็นขาลง
การลาก Fibonacci Retracement ผมเห็นบางคนยังลากกันไม่ถูกเลยนะครับ ยังไม่รู้เลยว่าจะลากจากจุดไหนไปหาจุดไหน เพราะหาจุดที่เป็น High และ Low ไม่ได้ ไม่รู้จะเอา Fibonacci Retracement ไปวางไว้ตรงไหน
ชื่อของมันก็ บอกอยู่แล้วว่า Fibonacci Retracement  คำว่า Retracement คือ การปรับฐาน การพักตัว การปรับตัว เป็นต้น ยกตัวอย่าง เมื่อราคาได้ลงมาถึงจุดๆนึงแล้ว ราคาจะต้องเด้งขึ้นไป เพราะมันไม่มีทางลงอย่างเดียวแน่นอน การเด้งขึ้นไปของมัน เรามองด้วยกราฟเปล่าก็อาจจะไม่รู้ (หรืออาจจะรู้โดยการดู Price Action ดู High Low เก่าๆ ) ดังนั้นเราจึงใช้ Fibonacci เพื่อหาจุดที่มันขึ้นไปเพื่อปรับฐาน ว่ามันจะปรับฐาน หรือพักตัวตรงไหนบ้าง
จุดที่ราคาจะพักตัว หรือปรับฐานเพื่อไปต่อในทิศทางเดิมนั้นคือ ระดับ Fibonacci Retracement ตั้งแต่ 78.6% -38.2% (0.786-0.382)

ดู รูปกันเลยครับ ตัวอย่างนี้เป็นกราฟ EUR/JPY กราฟขาลง และราคากำลังจะกลับตัวขึ้น เรามาดูจุดพักตัวของกราฟกันว่าอยู่ตรงไหนบ้าง มันจะปรับฐานตรงไหนบ้าง

การ วัด Fibonacci Retracement ของกราฟขาลงนั้น เราต้องเอา 0 % ไว้ที่ High และ 100 % ไว้ข้างล่าง เพื่อหาเป้าหมายของราคาที่มันจะพักตัวที่ 78.6-38.2% และราคาที่มันจะไปต่อในทิศทางเดิม คือ 127.0 -423.6 % (1.27-4.236)
ดังรูปด้านล่างครับ

ภาย ในกรอบสีแดงคือ จุดที่ราคาจะขึ้นไปปรับฐานทั้งหมด 1 2 3 4 ถ้าไม่สามารถผ่านแนวเหล่านี้ได้ หรือมีแท่งเทียนที่แสดงการกลับตัวบริเวณเหล่านี้ ราคาก็จะกลับลงมาอีกครั้ง โดยเป้าหมายต่อไปของราคาก็คือ การมาทดสอบจุดที่ Low หรือ Fibonacci 100% อีกครั้ง ถ้าผ่าน Low ได้ก็จะไปที่ 127.0 ,161.8, 261.8 423.6 % ขึ้นอยู่กับสภาวะตลาด ณ เวลานั้นว่าแรงแค่ไหน

ถ้าราคาสามารถทะลุ Fibonacci 38.2 % ขึ้นมาได้ ราคาจะทะลุขึ้นไปทดสอบ High อีกครั้ง

ถ้า ราคาสามารถทะลุ High ได้ เราก็ต้องเปลี่ยนการลาก มาเป็นการลาก Fibonacci แบบขาขึ้นแทนนะครับ นี่แหระครับ คือการหลักการง่ายๆของการใช้ และการลาก Fibonacci Retracement และดูแนวรับ แนวต้านที่ระดับ Fibonacci ระดับต่างๆกัน

นอกจาก Fibonacci Retracement แล้ว เรายังสามารถประยุกต์ Fibonacci Fan เข้าไปด้วย
Fibonacci Fan เปรียบเสมือน การลาก Trendline ต่างระดับโดยใช้ระดับของ Fibonacci เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยทั่วไปแล้ว Fibonacci Fan จะมี 3 ระดับ คือ 38.2 50.0 และ 61.8 % เรามาดูการลาก Fibonacci Fan กันครับ

ตัวอย่างแรกเป็นการลาก Trendline แบบ ธรรมดานะครับ โดยการลากจากยอดหนึ่ง มาเทียบกับอีก ยอดนึง (ในกรณีที่เป็นแนวโน้มขาลง)
และลากจากจุดต่ำสุดหนึ่ง มาเทียบกับ จุดต่ำสุดหนึ่ง (ในกรณีที่เป็นแนวโน้มขึ้น)

ตัวอย่างที่สองคือ การหา Resistance Trendline โดยใช้ Fibonacci Fan
.

จุดที่ 1 คือ Resistance Trendline เส้นที่ 1 กราฟจะมาทดสอบเส้นนี้เป็นเส้นแรก เป็นเส้น Fibo Fan 38.2 %
จุด ที่ 2 คือ Pivot  Resistance Trendline  เส้นที่ 2 นี้ผมจะเปรียบเสมือนมันเป็น Pivot ของแนวโน้มแบบเฉียง โดนเส้นนี้ เด้งทุกครั้ง เป็นเส้น Fibo Fan 50 %
จุดที่ 3 คือ Strong Resistance Trendline เส้นที่ 3 นี้ เป็นเส้นแนวโน้ม หรือเส้นแนวต้านแบบเฉียงลงที่แข็งแกร่งที่สุด ถ้าไม่สามารถผ่านขึ้นไปได้ ก็ลงยาว แต่ถ้าผ่านไปได้ ก็เป็นการกลับตัวเป็น ขาขึ้น (Up Trend)

ถ้าจะ Buy กันจริงๆก็ต้องรอให้พ้นเส้นที่ 3 กันไปก่อนนะครับ

You may also like

Leave a Comment