Fail Fibonacci
เราคงรู้จักการ Breakout ที่เกิดกับแนวรับแนวต้านกันดีอยู่แล้ว และเช่นเดียวกันในการใช้ Fibonacci ก็สามารถเกิด Breakout ได้เหมือนกัน
ในภาพคือ กราฟ GBP/USD ใน TF 4 ชั่วโมง ซึ่งราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง และราคามีการดีดตัวกลับขึ้นมา เราจึงใช้ Fibonacci มาเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยในการหาจุดเข้าเปิดออเดอร์ใหม่ว่าจุดไหนจะเป็นจุดที่ดีที่สุด เราลาก Fibonacci จากสวิงไฮที่ 1.5383 ถึงสวิงโลว์ที่ระดับ 1.4799 สังเกตได้ว่าราคาวิ่งหยุด และไต่อยู่ที่ระดับ 50.0% ขอ Fibonacci และนี่ก็คือ ระดับที่เราน่าจะถือโอกาสเปิดออเดอร์เซล
แต่ถ้าคุณไม่ได้เปิดออเดอร์ในจังหวะนี้ คุณก็อาจจะตกรถได้ แต่เดียวก่อน นอกจากนั้นคุณก็ต้องอย่าลืมเรื่องการจัดการกับความเสี่ยงด้วย เพราะบัญชีของคุณอาจจะเจอกับสภาวะการที่เลวร้ายได้หากว่าคุณไม่ได้มีการจัดการกับความเสี่ยง ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้
การกลับตัวในสวิงโลว์จุดต่ำสุดของแนวโน้มขาลง และตลาดเริ่มที่จะดีดตัวกลับไปหาสวิงไฮ และจากกรณีแบบนี้สอนอะไรเราได้บ้าง ?
ในขณะที่ Fibonacci Level ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในการเทรดได้มากขึ้น แต่ก็เช่นเดียวกับเครื่องมือทางเทคนิคอื่นๆ มันไม่สามารถจะยืนยันผลความสำเร็จได้ 100% คุณไม่สามารถรู้ได้เลยว่า ราคาจะกลับตัวที่ระดับ Fibonacci ที่ 38.2 ก่อนจะกลับลงมาตามเทรนเดิมหรือไม่ บางครั้งราคาก็อาจจะขึ้นไปถึงระดับ 50.0% หรือ 61.8% ก่อนที่จะกลับตัว แต่ในบางครั้งราคาก็ไม่สนระดับ Fibonacci เหล่านั้น แต่จะ Breakout ทุกระดับไปแบบไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น จงจำไว้เสมอว่าราคาไม่จำเป็นจะต้องกลับตัวตามระดับแนวรับแนวต้านของ Fibonacci เสมอไป
อีกปัญหาที่พบบ่อยในการใช้ Fibonacci คือการกำหนดสวิงโลว์และสวิงไฮ ที่จะใช้ในการลาก Fibonacci เราอาจจะมองกราฟที่แตกต่างกัน มองในกรอบเวลาที่แตกต่างกัน และมีความคิดเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานของตัวเอง ก็ทำให้เป็นไปได้ที่ คนสองคนอาจจะเห็นสวิงโลและสวิงไฮที่แตกต่างกัน
จึงไม่มีวิธีไหนที่จะบอกได้ว่าจุดไหนเป็นจุดต่ำสุดหรือสูงสุดที่แน่นอนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อราคามีแนวโน้มที่ไม่ชัดเจน ดังนั้นบางครั้งมันจึงกลายเป็นเกมส์เดา นั่นก็เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราต้องฝึกฝนทักษะ และใช้ Fibonacci ร่วมกับเครื่องมือทางเทคนิคอื่นๆ เพื่อช่วยให้การซื้อขายของคุณมีความน่าจะเป็นมากขึ้นที่จะประสบความสำเร็จ
การประยุกต์ใช้ Fibonacci กับแนวรับ-แนวต้าน
และอย่างที่เราได้กล่าวไว้แล้วว่า ถึงแม้ว่า Fibonacci จะมีประโยชน์มาก แต่มันก็ไม่ได้ให้ผลที่ 100% และการใช้ Fibonacci ร่วมกับเครื่องมือทางเทคนิคอื่นๆก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรดของคุณ วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งก็คือ การใช้ Fibonacci เพื่อหาแนวรับ-แนวต้านที่มีศักยภาพ โดยดูว่าระดับราคาเหล่านั้นอยู่ในระดับ Fibonacci Retracement หรือไม่
ถ้าระดับ Fib นั้นเป็นระดับที่เป็นแนวรับหรือแนวต้านอยู่แล้ว และถ้าระดับคาคาเหล่านั้นมันเหมือนกับระดับราคาอื่นๆ ที่เทรดเดอร์อื่นๆต่างเฝ้าดูอยู่แล้ว มันก็มีโอกาสมากขึ้นที่ราคาจะมีการกลับตัวที่ระดับราคาเหล่านั้น
ลองมาดูตัวอย่าง ว่าคุณสามารถประยุกต์ใช้แนวรับแนวต้านกับ Fib Level ได้อย่างไร ด้านล่างเป็นกราฟ Daily Chart ของ USD/CHF
จุเห็นได้ว่าก่อนหน้านนี้ราคาได้วิ่งมาในแนวโน้มขาขึ้น ดูจากแท่งเทียนสีเขียวที่เรียงตัวกันขึ้นมา ทำให้คุณตัดสินใจว่าจะหาจังหวะเข้าบายคู่เงินนี้ แต่ก็มีคำถามขึ้นมาว่า แล้วเมื่อไหร่ล่ะที่คุณจะเปิดออเดอร์? แล้วคุณก็เอา Fib มาใช้ ลากจากสวิงโลที่ 1.0132 เมื่อวันที่ 11 มกราคม และสวิงไฮที่ 1.0899 ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ตามภาพตัวอย่างด้านล่าง
ตอนนี้เราได้เพิ่มกรอบการทำงานที่เพิ่มความน่าจะเป็นให้เรามากขึ้นในการจุดเข้าที่ดี ตอนนี้คุณสามารถบอกได้ว่าคุณควรจะเข้าออเดอร์ตรงจุดไหน เมื่อมองภาพย้อนกลับไปเล็กน้อย คุณจะเห็นว่าระดับ 1.0510 เคยเป็นระดับแนวต้านที่ดีในอดีตที่ผ่านมา และมันก็เป็นระดับเดียวกับระดับ 50.0% ของ Fib retracement แต่ตอนนี้ระดับนั้นถูก Breakout จากแนวต้านที่ดีจึงกลายเป็นแนวรับที่ดีที่จะเข้าบาย
และในกรณีนี้ ถ้าคุณได้บายไว้แถวๆระดับ Fib 50.0% คุณก็จะไม่พลาดโอกาสในการทำกำไร ถึงแม้ว่าจะมีบางช่วงที่คุณจะตึงเครียดกับการที่ราคาวิ่งกลับทดสอบระดับแนวรับนี้อีกครั้งในวันที่ 1 เมษายน ราคาพยายามทะลุผ่านแนวรับนี้ แต่ก็ล้มเหลวและไม่สามารถปิดที่ระดับต่ำกว่าแนวรับได้ ในทีสุดราคาก็ก็วิ่งผ่านระดับสวิงไฮเดิมกลับขึ้นไปในแนวโน้มขาขึ้น
คุณสามารถใช้วิธีการเดียวกันนี้กับราคาที่อยู่ในแนวโน้มขาลง ที่สำคัญคือคุณควรมองหาระดับราคาที่ดูน่าสนใจจากอดีตที่ผ่านมา ที่ดูเหมือนว่ามันมีโอกาสสูงที่ราคาจะเด้งกลับในระดับราคาเหล่านั้น ประการแรก เนื่องจากแนวรับหรือแนวต้านที่ผ่านมาจะเป็นระดับที่ดีที่จะเข้าออเดอร์บาย หรือ เซล เพราะเทรดเดอร์อื่นๆก็จะจับตามองที่ระดับเหล่านั้นเช่นเดียวกัน และประการที่สอง เมื่อเรารู้ว่าเทรดเดอร์จำนวนมากก็ใช้ Fibonacci เหมือนกัน พวกเขาก็อาจจะกำลังมองที่ระดับ Fib เหล่านั้นของพวกเขาและรอโอกาสที่จะเปิดออเดอร์ที่ตำแหน่งเหล่านั้น และเมื่อเทรดเดอร์จำนวนมากต่างกำลังมองหาแนวรับแนวต้านที่เหมือนกัน ก็เป็นโอกาสมากขึ้นที่แนวรับแนวต้านเหล่านั้นจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในขณะไม่มีการรับประกันได้ว่าราคาจะเด้งที่ระดับนั้นๆหรือไม่ แต่อย่างน้อยคุณก็สามารถเพิ่มระดับความมั่นใจเกี่ยวกับการเทรดของคุณได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าระดับราคานั้นๆเป็นระดับที่แข็งแกร่ง
(38.2%, 50.0%, 61.8% หรือ Retracement zone)
โปรดจำไว้ว่า การซื้อขายนั้นขึ้นอยู่กับความน่าจะเป็น และถ้าคุณเป็นเทรดเดอร์ที่ยึดติดกับหลักความน่าจะเป็นแล้ว คุณก็มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการเทรดแต่ละครั้งได้มากกว่าในระยะยาว