Shooting Star
Shooting Star เป็นรูปแบบของกราฟแท่งเทียนที่เกิดในเทรนขึ้น Shooting star เป็นสัญญาณเตือนให้ผู้เทรดทราบว่าราคาอาจจะมีการเปลี่ยนแนวโน้มในเวลาอันใกล้นี้
ลักษณะของแท่ง Shooting star มีความคล้ายคลึงกัน Hammer เพียงแต่เกิดในด้านตรงกันข้ามกัน แท่งที่เป็น Shooting star จะมีจุดเปิดและจุดปิดของแท่งเทียนใกล้เคียงกัน (คล้าย ๆ Spinning Top)
แต่จะมีหางหรือไส้ยาว ๆ บริเวณด้านบนของแท่งเทียน Shooting star ให้ภาพแก่ผู้เทรดถึงลักษณะแนวโน้มของแรงในตลาดว่า ครั้งหนึ่งเคยมีแรงขาขึ้นวิ่งขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ได้แต่ท้ายที่สุดแล้วไม่สามารถรักษาความรุนแรง
ของเทรนขาขึ้นไว้ได้ ถูกดีดกลับมาปิดบริเวณใกล้เคียงกับจุดเปิดของแท่งนั่นเอง สีของแท่งไม่มีความสำคัญแต่อย่างใด
ลักษณะทางทฤษฎีของ Shooting Star
ตัวอย่างของกราฟจริงกับ Shooting Star
รูปนี้จะเห็นได้ว่า Shooting Star ไม่ใช่รูปแบบกลับตัว เป็นเพียงแค่ตัวบอกว่ากราฟขาขึ้นกำลังจะหยุดหรือพักเพื่อไปต่อหรืออาจจะเปลี่ยนเทรน
ดังนั้นการ sell จาก shooting star ทันทีที่เกืดจึงไม่ใช่วิธีที่ดีหากผู้เทรดยังไม่สามารถระบุทิศทางของเทรนได้แน่นอนว่าราคาจะลงจริง ๆ
ในบางครั้งราคาก็พักตัวหรือเปลี่ยนทิศทางหลังจากเกิด Shooting Star แบบในรูป ขึ้นอยู่กับว่า Shooting Star เกิดขึ้นในตลาดภาวะแบบไหน
Invert Hammer
Invert Hammer มีลักษณะหน้าตาที่เหมือนกับ Shooting Star ทุกอย่างแต่ต่างกันที่ตำแหน่งที่เกิดครับ Shooting Star จะเกิดหลังจากที่กราฟเป็นแนวโน้มขาขึ้นมาก่อน
แต่ Invert Hammer จะเกิดหลังจากที่ตลาดเป็นแนวโน้มขาลงมาก่อน
ความหมายของแท่ง Invert Hammer บอกผู้เทรดว่า แนมโน้มขาขึ้นเริ่มเข้ามามีบทบาทในตลาดแล้ว แต่แรงของแนวโน้มขาขึ้นนั้นยังไม่พอ
เลยดันให้ราคากลับไปปิดบริเวณใกล้เคียงกับจุดเปิดของแท่ง Invert Hammer ที่ดีไม่ควรจะสร้าง Low ของแท่งต่ำกว่าแท่งก่อนหน้า เพราะถ้าทำได้นั่นแปลว่าแรงขาขึ้นนั้นไม่มี Volume จริง ๆ
หลังจากเกิด Invert Hammer แล้วผู้เทรดควรจะรอดูแท่งเทียนที่ถัดจาก Hammer ด้วย ถ้าเป็นแท่งเทียนขาขึ้นที่มีจุดปิดสูงกว่าจุดเปิดของแท่ง Invert Hammer
จะเป็นสัญญาณยืนยันของเทรนขาขึ้นได้ดียิ่งขึ้น ยิ่งจุดปิดของแท่งที่ถัดจาก Invert Hammer สูงกว่าจุดเปิดมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับขาขึ้นมากเท่านั้น
เหตุผลว่าทำไมต้องรอให้เกิดแท่งเทียนยืนยันก่อนจึงค่อยเชื่อ Invert Hammer เพราะลักษณะของแท่ง Invert Hammer ถือว่าเป็นแท่งเทียนของแนวโน้มขาลง
ถ้าแท่งถัดไปสามารถทำ Low ของแท่งที่ต่ำกว่าแท่ง Invert Hammer ได้ก็แปลว่าแรงของขาขึ้นที่พยายามขึ้นนั้นไม่สำเร็จและกลายเป็นเทรนลงต่อโดยปริยาย
ลักษณทางทฤษฎีของ Invert Hammer
ตัวอย่างของ Invert Hammer
ในรูปนี้จะเห็นได้ว่าหลังจากเกิด Invert Hammer แล้วราคายังสามารถลงไปได้อีกแต่ก็ถูกดีดกลับมาจนปิดเป็นรูปแบบ Hammer
รูปแบบนี้กลายเป็นการยืนยันความแข็งแกร่งของขาขึ้นได้ดีว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่คิดว่าราคาสามารถขึ้นได้จากบริเวณนี้
Invert Hammer แท่งนี้ถึงจะมีแท่งถัดไปที่มี Low ของแท่งต่ำกว่าแต่เนื่องจากเป็น Hammer จึงเป็นสัญญาณที่เชื่อถือได้
ตกลงแล้ว Hammer, Shooting Star เชื่อถือได้หรือไม่ได้?

ผมเชื่อว่าผู้เทรดหลาย ๆ คนต้องเคยอ่านหรือเรียนเรื่องแท่งเทียนกันมากแล้ว และ รูปแบบยอดฮิตที่ทุกคนจะชอบกันมากที่สุดก็จะมี Hammer หรือ Shooting Star เป็น 1 ใน 3 อันดับต้น ๆ ของผู้เทรด ด้วยลักษณะที่ดูง่าย มีแท่งเดียว แสดงให้เห็นถึงแรงของฝั่งตรงข้ามได้อย่างชัดเจน ผู้เทรดส่วนมากเมื่อเห็นสัญญาณนี้เกิดขึ้นก็แทบจะใส่ออเดอร์ไม่เลี้ยงกันเลยทีเดียว แต่ความจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น !!!! บางคนเข้าออเดอร์ที่ hammer หรือ shooting star แล้วแต่ราคากลับทะลุ high หรือ low ของ hammer ไปหน้าตาเฉย ทำให้เจ็บช้ำน้ำใจกันเป็นแถบ ๆ
คำตอบคือเชื่อถือได้ครับ Hammer และ Shooting Star เป็นรูปแบบการกลับตัวของราคาอย่างที่ทุกคนเข้าใจไม่ผิด แต่สิ่งที่ผู้เทรดอาจจะไม่ทราบก็คือ บริเวณที่ Hammer หรือ Shooting Star ปรากฎก็มีความสำคัญไม่แพ้รูปแบบของแท่งเทียน
บริเวณไหนบ้างละที่เชื่อถือได้สำหรับ Hammer หรือ Shooting Star?
สำหรับเดย์เทรดแล้วผู้เทรดควรจะสนใจกราฟเวลาที่กราฟอยู่บริเวณ
– จุดสูงสุดหรือจุดต่ำสุดของเมื่อวาน (Swing High/Swing Low ของเมื่อวาน)
– จุดสูงสุดหรือจุดต่ำสุดของวันนี้ (Swing High/Swing Low ของวันนี้)
– จุดเปิดของวันนี้
– แนวรับแนวต้านจาก Trendline, Channel, และเครื่องมือตระกูล Fibonacci
Hammer และ Shooting Star ที่เชื่อถือไม่ได้
Hammer และ Shooting Star ที่เชื่อถือไม่ได้คือแท่งที่เกิดระหว่างที่กราฟกำลังเป็นเทรนอยู่ ถ้าผู้เทรดเห็นแท่งเทียนใหญ่ ๆ ก่อนหน้าแล้วแท่งถัดมาเป็น Hammer หรือ Shooting Star อย่าพึ่งสวนนะครับ ผู้เทรดควรจะรอดูพฤติกรรมราคาของแท่งถัดไปก่อนว่าสามารถทะลุ High หรือ Low ของแท่ง Hammer หรือ Shooting Star ได้หรือไม่
แล้วจะเทรด Hammer และ Shooting Star ได้อย่างไร
เมื่อราคาเกิด Hammer แล้วผู้เทรดควรจะรอให้ราคาสามารถทะลุ Trendline ไปก่อนหรือรอให้แท่งถัดไปสามารถทะลุ high หรือ low ของแท่ง hammer หรือ shooting star ขึ้นไปได้เสียก่อน จึงค่อยพิจารณาเรื่องออเดอร์ครับ
Hammer และ Shooting Star ที่เกิดครั้งแรกหลังจากที่ราคาเป็นเทรนส่วนใหญ่จะให้สัญญาว่า ราคาจะพักตัว การพักตัวของราคานั้นหมายความว่าราคามีสิทธิ์ไปต่อในเทรนเดิมหรือกลับตัวก็ได้ครับ ดังนั้นเมื่อผู้เทรดเจอ Hammer หรือ Shooting Star แล้วให้ใจเย็น ๆ รอดูพฤติกรรมราคาอีกสักนิดว่าไหวหรือไม่แล้วค่อยตัดสินใจก็ยังไม่สาย ดีกว่าเข้าไปแล้วแล้วเจอราคาลากต่อแล้วก็จะได้แต่พูดว่า
รู้งี้………………………………….
Credit : thaiforexschool.com