แนวรับแนวต้านประเภทที่ 5

by admin
0 comment

แนวรับแนวต้านประเภทที่ 5

แนวรับแนวต้านที่เกิดจากสัดส่วนตัวเลข Fibonacci

การวิเคราะห์ Fibonacci Ratio มีวัตถุประสงค์เพื่อหาระดับราคาที่เป็นแนวรับ-แนวต้าน เป็นเครื่องมือที่ไม่สามารถอธิบายเหตุผลได้ตามหลักจิตวิทยา ว่าทำไมระยะการเคลื่อนที่ขึ้นลงของกราฟราคาหุ้นจึงสามารถวัดเป็นสัดส่วน Fibonacci กันได้

แต่จากการสังเกตพบว่า บ่อยครั้งเวลาที่ราคามีพักฐานในช่วงแนวโน้มขาขึ้นหรือ Rebound ในช่วงแนวโน้มขาลง มักจะจบการพักฐาน หรือจบการ Rebound ที่สัดส่วน Fibonacci สัดส่วนใดสัดส่วนหนึ่งได้แก่

0

0.382   (38.2%)

0.500   (50%)

0.618   (61.8%)

0.764 หรือ 0.786 (76.4% หรือ 78.6%)

1.000  (100%)

 

นักเทคนิคจึงนำวิธีวัด Fibonacci Ratio มาใช้หาระดับราคาที่เป็นแนวรับ-แนวต้าน โดยในหัวข้อนี้ผมจะแนะนำการวัด Fibonacci Ratio ด้วยวิธี Retracement (การปรับฐาน) ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในการหาแนวรับตอนตลาดพักฐานในช่วงแนวโน้มขาขึ้น และหาแนวต้านตอนตลาด Rebound ในช่วงแนวโน้มขาลง

ตัวอย่างภาพแสดงกรณีที่กราฟหุ้นมีทิศทางแนวโน้มเป็นขาขึ้น เมื่อราคาหุ้นสิ้นสุดการปรับฐานระยะทางมักจะเป็นสัดส่วน Fibonacci ของระยะทางขาขึ้นก่อนหน้า สัดส่วนใดสัดส่วนหนึ่ง ระหว่าง 38.2% , 50% , 61.8% หรือ 76.4%

ตัวอย่างภาพแสดงกรณีที่กราฟหุ้นมีทิศทางแนวโน้มเป็นขาลง เมื่อราคาหุ้นสิ้นสุดการ Rebound ระยะทางมักจะเป็นสัดส่วน Fibonacci ของระยะทางขาลงก่อนหน้า สัดส่วนใดสัดส่วนหนึ่ง ระหว่าง 38.2% , 50% , 61.8% หรือ 76.4%

รูปตัวอย่างแสดงกราฟหุ้นที่มีแนวโน้มเป็นขาขึ้น จะเห็นได้ว่าช่วงที่ราคาหุ้นลดลงเป็นการปรับฐาน (สีขาว) จะมีส่วนสูงคิดเป็น 0.500 (50%) ของช่วงที่ราคาหุ้นมีการปรับตัวสูงชึ้นก่อนหน้า (สีเขียว) ซึ่งคิดเป็นส่วนสูง 1.000 (100%)

You may also like

Leave a Comment