การลากเทรนไลน์ (Trend Line)

by admin
0 comment

การลากเทรนไลน์ (Trend Line)

อย่างที่เกริ่นไว้ก่อนหน้านี้ การลากเทรนไลน์นั้นไม่มี กฎ (Rules) ตายตัวนะครับ ไม่มีใครลากผิด ลากถูกไปเสมอไป แต่มีข้อแนะนำ(Guidelines) สำหรับการลากเทรนไลน์ (Trend Line) ที่ทำตามแล้วสามารถให้คุณตัดสินใจหรือเป็นแนวทางในการเทรดให้ดีขึ้นได้

ข้อแนะนำในการลากเทรนไลน์

ข้อแนะนำทั่วไปในการลากเส้น Trend Line ที่หลังจากลากเส้น Trend Line ขึ้นมาแล้วน่าจะเป็นเส้นที่ให้ไอเดียในการเทรดที่ดี ได้แก่

1. ลากเส้นเชื่อมจุดต่ำสุดสำหรับเส้น Trend Line ขาขึ้น และลากเส้นเชื่อมจุดสูงสุดสำหรับ Trend Line ขาลง ดังนั้นสิ่งที่สำคัญในการลาก Trend Line คือการระบุจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดให้ได้เสียก่อน

 

รูปตัวอย่าง

คำอธิบาย

จากภาพนี้ ในวงกลมคือการลากเทรนไลน์ จาก จุดต่ำสุด ไปหาจุดต่ำสุดใหม่ ซึ่งตลอดเทรน เราจะมองเป็นเทรนขาขึ้นไปตลอดเทรน และคาดว่ากราฟจะทำจุดต่ำสุดใหม่อีกครั้ง ณ จุดสี่เหลี่ยม

2.  ลากเส้น Trend Line ที่เชื่อมได้แค่ 2 จุด  อย่าเพิ่งดีใจ !!! เพราะ Trend Line ที่เชื่อมเพียง 2 จุดจะยังเอาไปใช้งานได้ไม่ดี เราจะให้เครดิตเป็นแค่เพียง “เส้นที่น่าจะเป็น Trend Line ในอนาคต (Tentative Trend Line)” แต่ถ้าลากเส้นเชื่อมได้ 3 จุดขึ้นไป ถึงจะเป็น”เส้น Trend Line ที่ควรให้ความสำคัญ (Valid Trend Line)” ซึ่งเอาไปใช้งานได้ดีกว่า

รูปตัวอย่าง

คำอธิบาย 

จากภาพ  เป็นการลากเทรนไลน์ที่ดี มีทั้ง Tentative Trendline และ Valid Trendline  มีการลากผ่านจุด 3 จุด โดยกราฟโดนจุดที่ 3 แล้วพุ่งขึ้นไปทำ New High-Low อีกครั้ง

 

3. นิยมลากเส้นขนานเส้น Trend Line ควบคู่กันไปด้วย ถ้าทำได้ แต่ถ้าลากเส้นขนานเส้น Trend Line ไม่ได้ก็ไม่จำเป็น เพราะบางทีกราฟก็จะขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่ในกรอบระหว่างเส้น Trend Line กับเส้นขนาน Trend Line ที่ลากได้ แต่บางทีก็ไม่อยู่ในกรอบ

การลากจาก จุดต่ำสุด ไปหา จุดต่ำสุด
เพื่อหาเป้าหมายราคาหรือราคาคาดการณ์

คำอธิบาย

จากภาพ เป็นการลากเส้น ของจุดต่ำสุดทั้ง 3 จุด เราสามารถใช้เส้นเทรนหาเป้าหมายราคาได้โดย Copy เส้น จากจุดที่ 1–>3 ไปไว้จุดสูงสุดระหว่างจุดที่ 1 กับจุดที่ 3

4. “ถ้าเป็นไปได้ ”… พยายามอย่าให้เส้น Trend Line โดนตัด เช่น เส้น Trend Line ในช่วงแนวโน้มขาขึ้น พยายามลากเส้นให้ไม่มีช่วงไหนเลยที่ราคาจะต่ำกว่าเส้น Trend Line และเส้น Trend Line ในช่วงแนวโน้มขาลง ก็เหมือนกัน พยายามให้ไม่มีช่วงเวลาไหนเลยที่ราคาจะสูงกว่าเส้น Trend Line

สิ่งที่ควรสังเกตจากการลากเทรนไลน์

  1. ทิศทาง : เมื่อเราลากเป็นเราจะรู้ว่ากราฟมันถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝั่งทันที มันจะบอกเราได้เลยว่าเราควรเทรดตามแนวโน้มใด ถ้าราคาอยู่บนเส้นเหนือเส้นก็เล่น Buy ถ้าราคาอยู่ใต้เส้น ก็เล่น Sell
  2. ความชัน : กราฟเวลาขึ้นหรือลงสังเกตนะครับว่า เวลาเราลากเทรนไลน์ กราฟง่ายๆจะเป็นลักษณะ เพิงหมาแหงนหรือ 45 องศา ส่วนกราฟที่ ยากๆก็จะเป็น 60-80 องศา ที่ทำให้ยากต่อการตีความ
  3. ความไกล้หรือไกล : จุดนี้เป็นจุดที่ต้องใช้ประสบการณ์ล้วนๆและเทคนิคอื่นเข้ามาผสม เพราะบางทีราคาก็วิ่งไม่ถึงเทรนไลน์ก็กลับตัว หรือ บางที ก็ชนพอดี
  4. การ Breakและชนเทรน : การเบรกตัวของราคาบนเส้นเทรนไลน์หรือชาแนวเทรน มันบอกได้หลายอย่าง ตัวอย่างเช่น ถ้าเบรกแปลว่า กำลังจะเปลี่ยนแนวโน้ม หรือถ้าไม่ผ่าน จะเป็นการกลับตัว ทั้งสองเหตุการณ์นี้ เราต้องใช้ประสบการณ์เพื่อวิธีการทำกำไร
  1. หรือบริเวณตำแหน่ง Y ได้
  2. เราไม่รู้ว่าราคาที่มาเทสที่ตำแหน่ง Y จะร่วงแต่ถ้าร่วงเราก็คาดการณ์ว่าต้องไปถึงตำแหน่งเทรนไลน์ หรือ ตำแหน่ง Z ได้

การเข้าซื้อจากชาแนว Sideways เอาจริงสภาวะตลาดแบบนี้ไม่ค่อยน่าเล่นนักเพราะเราได้แค่เดา เป็นส่วนใหญ่ถ้าจะเล่นแนะนำให้เล่น Time Frame ใหญ่ๆ แนะนำ 4 ชั่วโมงขึ้นไปแล้วก็รอให้กราฟเทสสัก 2 ครั้งให้เป็นรูป V ก่อนแล้วค่อยเดาต่อไปว่าจะเป็นรูปตัว W หรือ M โดยการซื้อก็ให้ซื้อสวน เช่นชนแนวรับให้บาย ชนแนวต้านให้ Sell

สิ่งที่ควรสังเกตจากการลากเทรนไลน์

  1. ทิศทาง : เมื่อเราลากเป็นเราจะรู้ว่ากราฟมันถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝั่งทันที มันจะบอกเราได้เลยว่าเราควรเทรดตามแนวโน้มใด ถ้าราคาอยู่บนเส้นเหนือเส้นก็เล่น Buy ถ้าราคาอยู่ใต้เส้น ก็เล่น Sell
  2. ความชัน : กราฟเวลาขึ้นหรือลงสังเกตนะครับว่า เวลาเราลากเทรนไลน์ กราฟง่ายๆจะเป็นลักษณะ เพิงหมาแหงนหรือ 45 องศา ส่วนกราฟที่ ยากๆก็จะเป็น 60-80 องศา ที่ทำให้ยากต่อการตีความ
  3. ความไกล้หรือไกล : จุดนี้เป็นจุดที่ต้องใช้ประสบการณ์ล้วนๆและเทคนิคอื่นเข้ามาผสม เพราะบางทีราคาก็วิ่งไม่ถึงเทรนไลน์ก็กลับตัว หรือ บางที ก็ชนพอดี
  4. การ Breakและชนเทรน : การเบรกตัวของราคาบนเส้นเทรนไลน์หรือชาแนวเทรน มันบอกได้หลายอย่าง ตัวอย่างเช่น ถ้าเบรกแปลว่า กำลังจะเปลี่ยนแนวโน้ม หรือถ้าไม่ผ่าน จะเป็นการกลับตัว ทั้งสองเหตุการณ์นี้ เราต้องใช้ประสบการณ์เพื่อวิธีการทำกำไร

บทสรุปเรื่องการใช้เทรนไลน์และชาแนวเทรน

ถ้าจะให้พูดมันก็คือศิลปะการเทรดก็ว่าได้ การลากเทรนไลน์ถือเป็นศาสตร์และศิลป์ ที่ผู้ศึกษากราฟจะต้องใช้ทฤษฏีผสมกับจินตนาการไปด้วย อย่างที่บอกครับ มันไม่มีผิดไม่มีถูก   การลากเทรนไลน์ บางคนใช้ไส้เทียน บางคนใช้ราคาปิด เปิดจากกราฟ Line Charts  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจุดมุ่งหมายในการลากเทรนไลน์หรือชาแนว ก็เพื่อจะหาแนวทางการเทรด ว่าราคาตอนนี้กำลังอยู่ในเทรนอะไร ชาแนวเทรนอะไร ตลอดจนเป็นไอเดียการเทรด ว่ากราฟราคาจะติดบริเวณแนวรับหรือแนวต้านไหน  เพราะเทรนไลน์และ ชาแนวเทรน ก็จะมีแนวรับแนวต้านที่พอดิบพอดี กับ แนวรับแนวต้านที่เราคาดไม่ถึงเช่นกัน

สำหรับเรื่องเทรนไลน์และชาแนวเทรนหากจะต้องยกตัวอย่างก็คงต้องเป็น 20-30 ตัวอย่าง ในบทนี้จะยกตัวอย่างเทรนไลน์และชาแนวเทรนไลน์ที่เป็นขาขึ้นซะเป็นส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมีขาลง ไม่ใช่ขี้เกียจอธิบายนะครับ เพราะด้วยประสบการณ์ เวลาใช้เทรนไลน์ขาขึ้นหรือชาแนวเทรนขาขึ้น กราฟจะสวยกว่า ขาลง  เพราะเทรนขาลงหรือชาแนวขาลงเนี่ย องศาของ
เทรน จะไม่สวย แต่รูปแบบต่างๆมันก็จะตรงกับขาขึ้นทั้งหมด อยากให้ผู้อ่านลองทดสอบด้วยตัวเองนะครับ เพราะว่าการขีดเขียนเทรนไลน์ มันต้องใช้ประสบการณ์ และการทำบ่อยครั้ง ไม่ใช่แค่ครั้ง 2 ครั้ง หรือ แค่ 1-2 เดือน แต่มันเป็นทุกๆวันที่เราอยู่ในตลาด การสั่งสมประสบการณ์ มันจะสามารถทำให้เราคาดเดากับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ดีเอามากๆ

You may also like

Leave a Comment